คาวตอง

คาวตอง เป็นผักสมุนไพร ที่หลายๆ คน ชอบทานแบบสดๆ ถึงจะมีกลิ่นคาวเหมือนปลาแต่ก็ไม่มาก รสชาดบอกเลยว่าอร่อย แต่ที่สำคัญคุณประโยชน์ด้านสมุนไพรสูงมาก ลดเบาหวาน ป้องกันไวรัส กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายต้องยกให้เขาเลยผักคาวตอง ปัจจุบันผู้คนจึงนิยมนำมาปลูกในบ้าน เพราะปลูกง่าย โตเร็ว ใช้ทานเป็นผักสมุนไพรเพื่อเสริมสุขภาพในครอบครัว เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติที่กำลังได้รับความนิยม

คาวตอง

ผักคาวตอง เป็นพืชผักสมุนไพรที่น่าสนใจ สรรพคุณเด่นในเรื่องของมะเร็ง เบาหวาน การต้านไวรัส สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย รับประทานเป็นผักสดก็ได้ ปรุงเป็นยาก็ดี ที่นิยมกันมากคือหมักให้เป็นสมุนไพรน้ำหมักคาวตองชีวภาพ

คาวตอง

คาวตอง

   คาวตอง หรือผักคาวตอง มีชื่ออีกอย่างหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จักคือพลูคาว จะมีหลายคนสงสัยโทรมาถามบ่อยๆ ว่า..พลูคาว กับ คาวตองเป็นอันเดียวกันไหม เป็นอันเดียวกันครับ และยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น.. คาวทอง ผักก้านตอง ผักคาวปลา ผักเข้าตอง ผักคาวตอง แต่ที่นิยมเรียกและรู้จักกันทั่วไปคือ คาวตอง หรือ พลูคาว ที่มีคำว่าคาวเพราะกลิ่นจะออกคาวๆ เหมือนกลิ่นคาวปลาจึงมีบางท้องถิ่นเรียกว่าผักคาวปลา ชาวบ้านทั่วไปนิยมนำมาทานเป็นผัก กินกับลาบ ก้อย ซอยแส่ กินกับป่นปลาหรือน้ำพริกปลาแซบมาก แจ่วปลาแดก แจ้วปลาน้อย ก็กินกับผักคาวตองได้ มันแซบหลายๆ เด้อ สิบอกใฮ่ โดยเฉพาะกับอาหารรสจัดๆ ส้มตำ ยำ ก้อย พล่า ลาบและแจ่วฮ้อน รับประทานกับผักคาวตองเลย อร่อยมากแซบหลายๆ การเก็บมารับประทานส่วนมาจะเก็บเหมือนผักกินใบทั่วไปคือเด็ดยอดมารับประทานได้เลย แต่มีบางพื้นที่ชอบส่วนที่เป็นราก จะถอนมาทั้งราก คือส่วนรากก็รับประทานได้ จะออกเปรี๊ยวๆ ทานร่วมกับใบ จะทำให้รสชาดดีขึ้น หรือบางคนก็ชอบนำรากผักคาวตองมาทำเป็นยำรับประทานก็อร่อยดีเหมือนกัน คาวตองจะเป็นพืชผักที่มีรากยาวมาก ยาวประมาณ 3-5 เท่าของลำต้น ส่วนรากจะเลื้อยไปใต้ดินแบบยาวๆ สามารถแตกแทงยอดขึ้นมาเป็นลำต้นใหม่ได้ด้วย

คาวตอง

การใช้รับประทานมีมากมายหลายแบบ บ้างก็ตากแห้งนำมาต้มเป็นน้ำชาคาวตอง ดื่มเพื่อสุขภาพ

คาวตอง

ช่วงโควิดระบาดหนักๆ ทานผักคาวตอง คู่กับ กระเทียม หอมแดง เป็นผักกินกับน้ำพริก แก้หวัดได้ดีมากๆ ครับ

คาวตอง

ผักคาวตองปลูกง่าย ปลูกในสวนหรือในกระถางก็ได้ แตกกอเร็วโตง่าย ชอบความชุ่มชื้นอยู่ในร่ม แต่ไม่ชอบน้ำขัง ลักษณะต้นจะคล้ายๆ เครือ แตกเป็นยอดออกมาตัดไปรับประทานได้เลย เดียวก็ขึ้นยอดใหม่มาเรื่อยๆ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ต้นจะแก่ การปลูกไว้รับประทานเป็นผัก ปกติประมาณ 9-12 เดือน จะตัดปลูกใหม่เรื่อยๆ เพราะถ้าต้นแก่จะไม่ค่อยมียอดอ่อน

คาวตอง

คาวตอง คืออะไร
   คาวตอง เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 15-30 ซม. ลำต้นกลม สีเขียว รากแตกออกตามข้อ มีกลิ่นคาวทั้งต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 6-10 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านบนของใบเป็นสีเขียวเข้ม ด้านล่างออกสีม่วง ก้านใบยาวและโคนเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีใบประดับสีขาว 4 ใบ ที่โคนช่อดอก ปลายมน ดอกเล็กจำนวนมาก สีขาวยออกเหลือง ผล เป็นผลแห้ง แตกออกได้ เมล็ดรี

   คาวตอง เป็นยาสมุนไพรทั้งต้น เก็บในฤดูร้อน และฤดูหนาว ถอนทั้งต้นและราก ล้างให้สะอาด ตากแห้งเก็บไว้ใช้ ช่อดอก ดอกย่อย ช่อดอกแก่ ผล เมล็ด ผักคาวตองชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกได้แก่ คาวตอง (ลำปาง,อุดร) คาวทอง (มุกดาหาร,อุตรดิตถ์) ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน) ผักเข้าตอง ผักคาวตอง ผักคาวปลา (ภาคเหนือ) พลูคาว (ภาคกลาง) กระจายพันธุ์ในอินโดจีน, จีน, ประเทศไทยพบตามที่ชื้นแฉะริมน้ำทางภาคเหนือหรือปลูกไว้เป็นยาหรืออาหาร

   คาวตอง สรรพคุณ ทั้งต้น รสฉุน เย็นจัด ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ฝีบวมอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ บิด โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หูชั้นกลางอักเสบ และริดสีดวงทวาร ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้หายใจสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้ ต้นสด ใช้ภายนอก พอกฝี บวมอักเสบ บาดแผล โรคผิวหนัง ดากออก งูพิษกัด และช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น ใบสด ผิงไฟพอนิ่ม ใช้พอกเนื้องอกต่างๆ ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย ต้มน้ำรดต้นฝ้าย ข้าวสาลี และข้าว ป้องกันพืช เป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย พืชนี้ใช้รับประทานเป็นยาระบาย ขับพยาธิ แก้ไข้ อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ออกหัด ดอก ใช้ขับทารกที่ตายในท้อง
   คาวตองนี้ต้มรับประทานติดต่อกันเป็นประจำ แก้โรคน้ำกัดเท้า อาจรับประทานน้ำต้มจากพืชอย่างเดียว หรือผสมวิตามินเอและวิตามินรวมด้วย ได้มีการขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์ตำรับยานี้ นอกจากนี้มีผู้ขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์เครื่องสำอาง โดยใช้น้ำมันจากผักคาวตองเป็นครีม ทาแก้ผิวหนังหยาบกร้าน และใช้ป้องกันผิวหนังแตกเป็นร่อง

คาวตอง สรรพคุณ ในตํารับยาไทย

ต้น : ใช้รักษาโรคติดเชื้อและทางเดินหายใจ ฝีหนองในปอด ปอดบวม ปอดอักเสบ ไข้มาลาเรีย แก้บิด ขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำ นิ่ว ขับระดูขาว ริดสีดวงทวาร แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ฝีฝักบัว แผลเปื่อย ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แก้ไอ หลอดลมอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ

ราก : ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้แก้โรคบิด โรคผิวหนัง โรคหัด ริดสีดวงทวาร หนองใน

ใบ : ใช้รักษาโรคบิด หัด โรคผิวหนัง ริดสีดวงทวาร หนองใน ใช้ปรุงเป็นยาแก้กามโรค ทําให้แผลแห้งเร็ว แก้โรคข้อ และโรคผิวหนังทุกชนิด ทั้งต้นมีรสเย็นและฉุน ใช้เป็นยาแก้โรคบิด โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ไอ หลอดลมอักเสบ ฝีบวมอักเสบ ริดสีดวงทวาร หูชั้นกลางอักเสบ

คาวตอง ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
1.ฤทธิ์ระงับปวด เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ ห้ามเลือด รักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย
2.ฤทธิ์ขับปัสสาวะ พบสารฟลาโวนอยด์ที่แยกได้จากใบคาวตองเป็นสาระสําคัญในการออกฤทธิ์
3.ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ น้ำมันหอมระเหยจากการกลั่นส่วนเหนือดินของคาวตอง พบว่ามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอย่างแรงต่อเชื้อ Bacillus cereus และ B. Subtilis เชื้ออหิวาต์ Vibrio cholerae 0-1 และ V.Parahaemolyticus
4.ฤทธิ์ต้านไวรัส น้ำมันหอมระเหยจากคาวตอง ซึ่งประกอบด้วย n-decyl aldehyde, n-dodecyl aldehyde และ methyl-n-nonyl ketone สามารถยับยั้งการเจริญของไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ ในหลอดทดลองได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อไวรัสที่มีเปลือกหุ่ม 3 ชนิด ได้แก่ herpes simplex virus type-1 (HSV-1) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ (HIV-1) และไวรัสที่ปราศจากเปลือกหุ่ม 2 ชนิด คือ โปลิโอไวรัส และ คอกซากีไวรัส

อ้างอิงข้อมูลในวิกิพีเดีย
การนำสารเคมีในผักคาวตองไปประยุกต์ใช้
   จากผลงานวิจัยของทีมงานของอาจารย์คณะแพทย์ ที่ ม.เชียงใหม่ และ ม.ขอนแก่น พบว่าสารพฤกษเคมีที่อยู่ในคาวตอง ช่วยกำหนดระบบนิเวศวิทยาในขบวนการหมักแบบชีวภาพ ทำให้ได้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์หรือโพรไบโอติกส์ที่ช่วยปรับสมดุลของร่างกายกลุ่มแลคโตบาซิลลัสหรือยีสต์ ที่มีโครงสร้างผนังเซลล์เป็นน้ำตาลเชิงซ้อนชนิดเบต้ากลูแคนซึ่งสามารถกระตุ้นไขกระดูกให้ผลิตเซลล์ต้นกำเนิดได้ การทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า โพลีนิวคลิโอไทด์จากแลคโตบาซิลลัสสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลอง(หนู)ได้ใน 10 วัน พลาสมาของหนูทดลองดังกล่าวสามารถฆ่าเชื้อก่อโรคได้หลายชนิดเช่น Burkholderia pseudomallei, Shigella flexneri, Salmonella group B, Staphylococcus aureus และ Group A streptococci ได้ดีมาก ผลของการทดทองในผู้ติดเชื้อ HIV ก็สามารถทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังสามารถใช้คาวตองที่ผ่านกรรมวิธีการหมักแบบชีวภาพ ควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์เช่นเคมีบำบัด หรือการฉายรังสี จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้น้อย อาเจียน ผมร่วงหรืออ่อนเพลียน้อยลง การที่สมุนไพรคาวตองกำหนดการเกิดขึ้นของสารเบต้ากลูแคนในขบวนการหมัก ทำให้ได้สมุนไพรที่มีคุณสมบัติบำรุงสุขภาพองค์รวมดีกว่าใช้สมุนไพรคาวทองแบบธรรมชาติเดิมแท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดให้ออกมาไหลเวียนในกระแสเลือดมากขึ้น จึงช่วยให้ร่างกายอ่อนวัยและฟื้นคืนจากโรคเสื่อมของเนื้อเยื่อต่างๆได้
   ในประเทศจีนมีการใช้คาวตองเป็นส่วนผสมตำรับยาต้าน Influenza virus เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสในไก่ โดยใช้ผสมในอาหารหรือน้ำดื่มที่ใช้เลี้ยงไก่ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนผสมในตำรับยารับประทานสำหรับลดไข้ รักษาโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง เป็นส่วนประกอบในตำรับยาใช้รักษาการติดเชื้อเฉียบพลัน หวัด ไข้หวัดใหญ่และการติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้นใช้ทารักษาโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คางทูม ต่อมทอนซิลอักเสบ และปอดอักเสบในเด็ก
   ล่าสุดได้มีการศึกษาคุณสมบัติของคาวตอง ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าสามารถนำมาพัฒนาเป็นยาต้านไวรัสของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ได้หรือไม่ เชื่อว่าจะสามารถต้านเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ ได้เช่นกัน โดยเฉพาะเชื้อ HIV

สรรพคุณของคาวตอง รวบรวมหลายๆ ตำรา
1.มีฤทธิ์ในการช่วยต่อต้านมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
2.มีฤทธิ์ในการช่วยบำบัดฟื้นฟูโรคความดันโลหิตสูง
3.ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ต้านทานโรค ช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้อยู่สู้โรคได้นานมากขึ้น
4.มีส่วนช่วยยับยั้งเบาหวาน รักษาความสมดุลของร่างกาย
5.ช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น (ต้นสด)
6.ช่วยรักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย
7.ช่วยรักษาอาการหูชั้นกลางอักเสบ (ทั้งต้น)
8.ใช้รักษาโรคติดเชื้อและทางเดินหายใจ (ต้น)
9.ประโยชน์ของผักคาวตองช่วยแก้ไข้ (ใบ)
10.ช่วยรักษาโรคไข้มาลาเรีย (ต้น)
11.ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาและช่วยต้านเชื้อโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่
12.ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยา ช่วยรักษาอาการติดเชื้อเฉียบพลัน ติดเชื้อทางเดินหายใจ
13.ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาคางทูม ต่อมทอนซิลอักเสบ และปอดอักเสบในเด็ก
14.คาวตองมีสรรพคุณช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ทั้งต้น)
15.มีส่วนช่วยกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวช่วยรักษาภาวะภูมิแพ้ หอบหืด
16.ช่วยรักษาโรคไอกรน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
17.ช่วยรักษาการอักเสบชนิดธรรมดาบริเวณแก้วตา (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
18.ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ทั้งต้น)
19.ช่วยรักษาโรคหลอดลมขยายตัวมากเกินไป (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
20.ช่วยรักษาอาการปอดบวม ปอดอักเสบ (ทั้งต้น)
21.ช่วยรักษาฝีหนองในปอด (ต้น)
22.ช่วยรักษาอาการคั่งน้ำในอกจากโรคมะเร็ง (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
23.ช่วยลดอาการบวมน้ำ (ทั้งต้น)
24.ใช้เป็นยาระบาย อาหารไม่ย่อย (ใบ)
25.รักษาอาการท้องเสีย (ใบ)
26.ใช้แก้โรคบิด (ต้น, ใบ, ทั้งต้น)
27.ช่วยขับพยาธิ (ใบ)
28.ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก, ทั้งต้น)
29.ช่วยรักษาอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (ทั้งต้น)
30.ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ต้นสด, ใบ, ทั้งต้น)
31.ช่วยรักษาโรคหนองใน (ใบ)
32.ใช้ปรุงเป็นยาแก้กามโรค (ใบ)
33.ช่วยรักษานิ่ว (ต้น)
34.ช่วยแก้โรคไต (ใบ)
35.ช่วยรักษาอาการไตผิดปกติ (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
36.ช่วยรักษาโรคตับอักเสบชนิดดีซ่าน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
37.ช่วยขับระดูขาว (ต้น)
38.ช่วยรักษาแผลอักเสบคอมดลูก (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
39.ช่วยรักษาการอักเสบบริเวณกระดูกเชิงกราน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
40.ช่วยแก้โรคข้อ (ใบ)
41.ช่วยรักษาโรคหัด (ใบ)
42.ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ (ต้นสด, ใบ)
43.ช่วยรักษาผื่นคัน ฝีฝักบัว (ต้นสด)
44.มีฤทธิ์ช่วยระงับอาการปวด
45.ช่วยห้ามเลือด
46.มีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่าง ๆ
47.ใช้พอกฝี บวมอักเสบ (ต้นสด, ทั้งต้น)
48.ช่วยรักษาบาดแผล (ต้นสด)
49.ช่วยรักษาแผลเปื่อย (ต้นสด)
50.ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น (ใบ)
51.ใช้พอกแผลที่ถูกงูพิษกัด (ต้นสด)
52.ช่วยป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
53.ใบสดผิงไฟพอนิ่มใช้พอกเนื้องอกต่าง ๆ (ใบ)
54.มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส
55.ประโยชน์ของคาวตองช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสชนิดต่าง ๆ เช่น ไข้ทรพิษ หัด งูสวัด เริม เอดส์ (HIV)
56.แก้โรคน้ำกัดเท้า
57.ในประเทศจีนใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาช่วยป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสในไก่ โดยใช้ผสมในอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่
58.ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย (ใบ)
59.ใบนำมารับประทานเป็นผักสด
60.ใบสดต้มน้ำนำมารดต้นข้าว ข้าวสาลี ต้นฝ้าย ป้องกันพืชเป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย
61.ใช้ขับทากที่ตายในท้อง (ดอก)
62.เหมาะกับผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น
63.เหมาะกับผู้ที่ต้องการ Detox ล้างพิษออกจากร่างกาย ป้องกันโรคร้าย ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ทำให้โรคต่าง ๆ มีอาการดีขึ้น และหายจากอาการของโรคต่าง ๆ ได้ในที่สุด
64.ใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้น้อยลง
65.ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางประเภทครีมทาแก้ผิวหนังแห้ง หยาบกร้าน ป้องกันผิวหนังแตก

วิธีใช้คาวตองใช้ได้ทั้งต้นแต่ควรตัดให้สูงจากพื้น 1 ฝามือ
การปรุงยาแบบโบราณดั้งเดิม ใช้ต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม (ต้นสด 30-60 กรัม) นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วนำมาต้มน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาทีแล้วนำมาดื่ม แต่หากใช้ร่วมกับสมุนไพรหรือยาชนิดอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่คาวตอง ต้มให้เดือด การรับประทานถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
คาวตอง

การผลิตน้ำหมักคาวตอง
   คาวตอง เป็นสมุนไพรที่ไม่เหมือนกับสมุนไพรอื่นๆ เพราะการผลิต จะต้องผ่านการหมัก เพื่อให้เกิดสารเควอซิทินให้มากขึ้น และเพื่อเพิ่มปริมาณของเบต้ากลูแคน นอกจากนั้นยังมีจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ กับร่างกาย ในกรรมวิธีการผลิตคาวตอง จึงไม่เหมือนกับการผลิตสมุนไพรอื่นๆ เพราะฉะนั้นผลิตภัณฑ์คาวตองที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปจะได้ผลตามสรรพคุณหรือไม่ จะต้องขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต และนอกนั้นยังจำเป็นต้องเลือกสายพันธ์คาวตอง ให้ถูกต้องตามที่ต้องการ แล้วยังต้องคัดแยกเลือกสายพันธ์จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์กับร่างกายมาเป็นเชื้อในการหมักด้วย

1. เริ่มตั้งแต่การเพราะปลูกจะต้องมีการคัดเลือกสายพันธ์ที่ต้องการ เพราะปลูกด้วยวิธีการปลอดสารเคมี เรียกว่าผลผลิตจากการเกษตรออร์แกนิค
2. ควบคุมการเกิดโรคของพืชด้วยธรรมชาติ อันนี้สำคัญการเพราะปลูกต้องไม่มีการนำสารเคมีเข้ามาใช้เพราะจะทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์พลูคาวได้
3. เมื่อเพราะปลูกแล้วก็จะตัดเก็บพลูคาว เป็นขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ ขั้นตอนนี้วัถุดิบต้องสะอาดปลอดจากแบคทีเรียที่ก่อโรคได้
4. นำพลูคาวมาหมักสกัดด้วยน้ำในอุณหภูมิที่เหมาะสม การหมักนี้จะมีการควบคุมพิเศษตามแบบเฉพาะของตนเอง อาจใช้เวลาหลายเดือน ส่วนมากผู้ผลิตจะจดสิทธิบัตรของใครของมันเพื่อสร้างความน่าเชื้อถือ เพราะในขั้นตอนการหมักจะเกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์หรือโพรไบโอติกส์ที่ช่วยปรับสมดุลของร่างกายกลุ่มแลคโตบาซิลลัสหรือยีสต์ ที่มีโครงสร้างผนังเซลล์เป็นน้ำตาลเชิงซ้อนชนิดเบต้ากลูแคนซึ่งสามารถกระตุ้นไขกระดูกให้ผลิตเซลล์ต้นกำเนิดได้ เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเชลล์มีคุณสมบัติ ในการซ่อมแซมอวัยวะที่สึกหรอต่างๆได้ หรือเปลี่ยนเป็นเชลล์นักฆ่า(NATURAL KILLER CELL) ที่สามารถกำจัดเชลล์มะเร็ง เนื้องอก และไวรัสต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้สเต็มเซลล์ที่เกิดขึ้นยังไปเนี่ยวนำเซลล์ปกติของร่างกายให้ถอยวัยลงได้ ทำให้ถอยวัยลงเป็นหนุ่มเป็นสาวได้นานขึ้น
5. ผลิตพลูคาวแบบน้ำจะหาวิธีทำให้คุณสมบัติสรรพคุณของพลูคาวออกไปอยู่ในน้ำให้ได้มากที่สุด ส่วนผู้ผลิตแบบแคปซูลก็จะใช้เทคนิคพิเศษเพื่อให้สรรพคุณที่เกิดขึ้นอยู่กับพลูคาวให้ได้มากที่สุด และหาวิธีทำให้แห้งโดยไม่ให้สรรพคุณลดลงและเก็บได้ยาวนานมากที่สุด อาจต้องผสมสมุนไพรอื่นๆ เพิ่มเพื่อให้เสริมฤทธิ์กันให้มากขึ้น
6. การทำแบบแคปซูล นำเข้าแคปซูลด้วยวิธีการเฉพาะเพื่อคงสภาพยาวนาน (Vcaps Capsule เป็นแคปซูลที่ทำจากพืชเช่น.แป้งข้าวโพด เป็นต้น)
7. นอกเหนือจากนี้จะนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ จะต้องตรวจสอบผ่านมาตรฐานอื่นๆ อีก เช่น.อย. GMP. ฮาลาน เป็นต้น

(การผลิตพลูคาวในปัจจุบันบางแบรนด์อาจมีกรรมวิธีการผลิตแบบใหม่ที่ไม่ต้องทำการหมัก จะทำการสกัดเอาสารที่ต้องการจากพลูคาวโดยตรงด้วยกรรมวิธีการแบบสมัยใหม่ แบบนี้จะได้สรรพคุณแบบเฉพาะบางเรื่องจากพลูคาว แต่จะไม่เกิดจุลชีพ หรือจุลินทรีย์ เหมือนสมัยก่อนที่เป็นต้นแบบในการผลิตพลูคาวมาอย่างยาวนานอาจทำให้ขาดสรรพคุณของพลูคาวในบางอย่างไป)

คาวตองกรณีศึกษา

ข้อมูลคาวตองในเว็บนี้ผู้เขียนได้ทำการรวบรวม ข้อมูลจากหลายๆ แหล่งข้อมูล มารวมไว้เพื่อเป็นกรณีศึกษาเท่านั้น เพราะผู้เขียนเองสนใจในเรื่องของคาวตองมานาน และอีกอย่างหนึ่งคาวตองเป็นฝักสมุนไพรที่ควรส่งเสริม คนรุ่นใหม่ควรศึกษาต่อยอด เพื่อพัฒนาสมุนไพรไทยให้เจริญเติบโตก้าวหน้าต่อไป จึงอยากจะรวมข้อมูลไว้ศึกษา ถ้าไปเจอข้อมูลเพิ่มเติม ที่เป็นประโยชน์ ก็จะเอามาลงเพิ่มเติมเรื่อยๆ

วิธีปลูกคาวตอง ไว้รับประทานเอง